เงินเดือนเท่านี้
กู้ซื้อบ้านได้เท่าไหร่ กันนะ ?
ข้อมูลจาก http://www.thaijobsgov.com/jobs/82582
การที่จะมีบ้านหรือที่อยู่อาศัยนั้นได้เป็นความฝันของใครหลายๆคน และในปัจจุบันนี้ด้วยความที่ว่าบ้านแต่ละหลังนั้น ก็มีราคาไม่น้อยเลยล่ะ โดยในยุคนี้ด้วยที่บ้านแต่ละหลังนั้นมีราคาเริ่มต้นโดยประมาณที่หนึ่งล้านบาท จึงทำให้บ้านหรือที่อยู่อาศัยก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงความสำเร็จในเรื่องของการทำงาน
เพราะเหตุนี้จึงทำให้ทางสถาบันการเงินต่างๆโดยเฉพาะทางธนาคาร ได้มีนโยบายสินเชื่อขอกู้ซื้อบ้าน กู้เงินเพื่อที่จะเอาเงินส่วนนั้นไปทำสิ่งต่างๆ โดยมาพร้อมกับเงื่อนไขที่แตกต่างกันและคนทุกคนที่ทำเรื่องกู้เงินเพื่อขอซื้อบ้านนั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถกู้ได้เท่ากันได้ทุกคน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทางธนาคารมักจะตรวจดูและพิจารณาก่อนเป็นอันดับแรกเลยก็คือความสามารถในการหาเงิน ยิ่งใครที่มีเงินเดือนที่มาก มีเงินเดือนที่สูง นั่นก็หมายความว่าทางธนาคารจะเปิดให้กู้ในวงเงินที่สูงขึ้น แต่ถ้าหากใครที่มีเงินเดือนน้อย มีเงินเดือนไม่มากเท่าไหร่ ทางธนาคารก็จะเปิดให้กู้ในวางเงินที่ต่ำ และการกู้ธนาคารก็จะมีเงื่อนไขง่ายๆในการกู้คร่าวๆดังนี้
วงเงินที่เราสามารถกู้ได้
1.สำหรับบ้านธรรมดาทั่วไป เราสามารถขอกู้ได้ถึง 85% ของราคาที่ทำการประเมิน และ ขอกู้ได้ไม่เกิน 85% ของราคาซื้อขาย แต่สำหรับในส่วนของอาคารพาณิชย์ เราจะสามารถกู้สูงสุดได้ไม่เกิน 75% ของราคาประเมิน และก็ไม่เกิน 75% ของราคาซื้อขาย
2.สามารถกู้ได้โดยคิดจากรายได้ที่มี โดยคิดเป็นประมาณไม่เกิน 40 เท่าของเงินเดือนผู้กู้ 15 เท่าของรายได้อื่นๆ และสำหรับคนที่ประกอบอาชีพอิสระ ก็จะสามารถขอกู้ได้ไม่เกิน 40 เท่าของเงินเดือนโดยประมาณนี้
ระยะเวลาการกู้สูงสุด
โดยส่วนใหญ่แล้ว จะมีระยะเวลาสัญญาการกู้ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และก็ไม่เกิน 30 ปี โดยมีข้อแม้ว่าอายุของผู้กู้บวกกับระยะเวลาทำสัญญากู้ จะต้องไม่เกิน 70 ปีนะ ถึงจะสามารถกู้ได้
ซึ่งในการคำนวณขอกู้เงินโดยคิดจากราคาประมาณทั้งบ้านหรือที่พักอยู่อาศัยกับอาคารพาณิชย์ ไม่ใช่เรื่องยากสักเท่าไหร่เพราะว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างตายตัว แต่สำหรับการขอกู้ที่คิดจากรายได้เป็นเกณฑ์นั้น ถึงแม้ว่าจะไม่เกิน 40 เท่าจากรายได้ที่เราได้ก็จริง แต่สำหรับใครที่ต้องการความแม่นยำ ต้องการความถูกต้องมากยิ่งขึ้น เราก็มีเทคนิคการคิดอย่างง่ายๆดังนี้
ปริมาณเงินเดือนที่สามารถชำระได้ต่อเดือน = เงินเดือนที่เราได้รับ x DSR
ซึ่ง DSR คือ ภาระหนี้ทั้งหมดหารด้วยรายได้สุทธิ
โดยในแต่ละธนาคารจะไม่เหมือนกัน ยิ่งถ้าหากว่าเงินเดือนของเราเยอะ ค่า DSR ก็จะถูกปรับขึ้นเพิ่มด้วยนะ แต่สามารถใช้การประมาณคร่าวๆได้ประมาณ 40% และ
วงเงินที่เราสามารถกู้ได้ = (เงินที่สามารถชำระได้ต่อเดือน – ภาระผ่อนอื่นๆ) x 150
เราสามารถยกตัวอย่างคร่าวๆได้ดังนี้
- -คิดที่เงินเดือน 30,000 และต้องส่งรถอีกเดือนละ 5,000 บาทต่อเดือน
- -คำนวณเงินที่เราสามารถชำระได้ในแต่ละเดือนได้ 30,000 x 40% = 12,000 บาท
- -และเราสามารถกู้ได้ (12,000 – 5,000) x 150 = 1,050,000 บาท
จะเห็นได้ว่าถ้าเรามีเงินเดือนอยู่ที่ 30,000 บาทและค่าส่งรถอีกเดือนละ 5,000 บาท เราจะสามารถขอกู้ธนาคารซื้อบ้านได้ถึง 1,050,000 บาทเลยทีเดียวและถ้าหากใครที่ขี้เกียจคิดคำนวณ อยากรู้เร็วว่ามี เงินเดือนเท่านี้ กู้ซื้อบ้านได้เท่าไหร่ เราก็มีตารางเปรียบเทียบปริมาณเงินเดือนกับปริมาณเงินที่เราสามารถกู้ได้ โดยคิดที่ DSR 40% มีระยะเวลาสัญญา 30 ปี และไม่มีภาระทางการเงินอื่นๆเลยดังนี้
เงินเดือน
|
วงเงินที่สามารถกู้ซื้อบ้านได้
|
20,000
|
1,200,000
|
30,000
|
1,800,000
|
40,000
|
2,400,000
|
50,000
|
3,000,000
|
60,000
|
3,600,000
|
100,000
|
6,000,000
|
150,000
|
9,000,000
|
ซึ่งวงเงินกู้ในส่วนนี้ที่คำนวณจากรายได้หรือรายรับของเรา เรายังมีเทคนิคในการเพิ่มวงเงินในส่วนนี้อีกดังนี้
- หารายได้เสริม
การหารายได้เสริมหรือหาอาชีพเสริม ก็นับว่าเป็นเงินที่ได้รับเหมือนกัน โดยจะสามารถเพิ่มวงเงินการกู้ให้เราได้ไม่น้อยเลยล่ะ โดยต้องมีการระบุที่มาของรายได้ด้วยนะและถ้าจะให้ดี จะต้องมีการเสียภาษีเพิ่มเข้ามาด้วย ถึงจะทำให้ดูน่าเชื่อถือที่สุด
- ค่าสวัสดิการต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นค่าโทรศัพท์ ค่าโรงแรมที่พัก ค่าเดินทาง และอื่นๆอีกมากมาย ที่ทางบริษัทจัดไว้ให้สำหรับพนักงาน ซึ่งเงินในส่วนนี้เราสามารถคิดรวมกับเงินเดือนของเราได้เลย ฉะนั้นแล้วใครที่มีสวัสดิการเยอะๆ ก็ไม่ควรมองข้ามในส่วนนี้ไป
- ค่าคอมมิชชั่น
สำหรับอาชีพที่มีค่าคอมมิชชั่นอย่างเช่นเหล่าพนักงานขาย ซึ่งอาชีพเหล่านี้มักจะมีฐานเงินเดือนที่น้อย แต่ว่าจะมีค่าคอมมิชชั่นที่สูง ก็สามารถนำไปรวมเข้ากับเงินเดือนเพื่อเพิ่มวงเงินในการกู้ได้ โดยคำนวณจากค่าคอมมิชชั่นในหนึ่งปีที่ได้รับ แล้วก็มาเฉลี่ยว่าในหนึ่งเดือนว่าเราจะมีค่าคอมมิชชั่นเท่าไหร่ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยเพิ่มวงเงินในการกู้แล้ว
ขอบคุณเนื้อหาจาก:https://moneyhub.in.th
No comments:
Post a Comment